บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2018

รากต้นไทรย้อย

รูปภาพ
ราก รากพืชตระกูลไทรมีระบบรากเป็นรากแก้ว และแตกรากแขนงออก โดยรากแขนงจะแทงออกแพร่ไปรอบๆลำต้นขนานกับพื้นดินได้ไกล นอกจากนั้น ไทรบางชนิดมีรากอากาศห้อยตามกิ่งย้อยลงมาด้านล่าง เช่น ไทรย้อย และบางชนิดมีพูพอนที่โคนต้นเหนือรากสำหรับค้ำพยุงลำต้นที่มีขนาดใหญ่ เช่น มะเดื่ออุทุมพร ที่มา  http://puechkaset.com

ความเชื่อของต้นไทรย้อย

รูปภาพ
ความเชื่อเกี่ยวกับไทร คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นไทรไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความร่มเย็น จนมีคำโบราณกล่าวว่า "ร่มโพธิ์ร่มไทร" ช่วยทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขนอกจากนี้ยังช่วยคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายทั้งปวงเพราะบางคนเชื่อว่าต้นไทรเป็นต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีเทพารักษ์อาศัยอยู่คอยคุ้มครองพิทักษ์ปวงชนให้มีความอยู่เย็นเป็นสุข เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นไทรไว้ทางทิศตะวันตกผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทางใบให้ปลูกในวันอังคาร ไทรย้อยใบแหลมเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำกรุงเทพมหานคร และเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์  ที่มา https://th.wikipedia.org

การปลูกต้นไทรย้อย

รูปภาพ
การปลูก 1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้เพื่อประดับบริเวณสวนเพราะเป็นไม้ที่มีการแตกกิ่งก้านสาขาที่กว้างใหญ่ ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก 2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในและภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12-18 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:แกลบผุ:ดินร่วนอัตรา 1:1:1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถาง 1- 2 ปี/ครั้งหรือแล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่มทั้งนี้ก็เพราะ การเจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้นและ เพื่อต้องการเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไปการปลูกทั้ง 2 วิธี ดังกล่าวสามารถตัดแต่งและบังคับรูปทรงของทรงพุ่มได้ตามความต้องการผู้ปลูกนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ด้วยว่าพันธุ์ ด้วยว่าพันธุ์ใดจะเหมาะสมกับวิธีการปลูกแบบใด ตามวัตถุประสงค์ผู้ปลูก  ที่มา https://th.wikipedia.org

ปัญหาของต้นไทรย้อย

รูปภาพ
ปัญหาของต้นไทรย้อย ทีนี้ถ้าเพื่อนๆคิดจะปลูกต้นไทรย้อยไม่ว่าจะเป็นใบแหลมหรือใบทู่ สิ่งแรกที่ต้องเรียกตัวกันก่อนเลย ก็คือ หาวิธีป้องกันความสามารถในการชอนไชของรากต้นไทรย้อย ที่สามารถยกกำแพงบ้าน สร้างความเสียหายให้กับตัวบ้านกันได้ไม่ยากเลยครับ ดังนั้นถ้าคิดจะปลูกต้นไทรย้อยก็ต้องปลูกให้ห่างๆจากตัวบ้านเลยครับ ปลูกให้ห่างจากตัวบ้านอย่างน้อย10 เมตรได้ยิ่งดี แต่ไม่ใช่ห่างจากบ้านเราแล้วปัญหาจะจบน่ะครับ เพราะถ้าไปอยู่ติดรั้วบ้านแล้ว รากของต้นไทรย้อยก็อาจจะไปสร้างปัญหาให้กับบ้านเพื่อนบ้านได้อีก เพราะรากของต้นไทรมักจะไปทำให้กำแพงเสียหายกับทำให้ท่อตันครับ ตันแบบสนิทจริงๆแทบจะต้องทุบท่อวางท่อกันใหม่เลย ดังนั้นปัญหาเรื่องต้นไทรย้อยกับเพื่อนบ้านจะมีเยอะมากๆ ที่มา https://buildsweethome.blogspot.com

ประโยชน์ต้นไทรย้อย

รูปภาพ
ประโยชน์ของไทรย้อย 1.         ในป่าธรรมชาติ ต้นไทรนับเป็นที่อยู่อาศัยและผลยังเป็นแหล่งอาหารชั้นยอดของสัตว์ป่าหลายชนิด เพราะต้นไทรมีลำต้นแผ่กว้าง เต็มไปด้วยหลืบโพรง ทั้งนกนานาชนิด กระรอก ชะนี ลิง หรือแม้แต่สัตว์ใหญ่อย่าง เก้ง กวาง หมูป่า ฯลฯ ต่างก็ชอบรับประทานผลของมัน อีกทั้งต้นไทรแต่ละต้นก็ติดผลในช่วงเวลาที่ไม่ตรงกัน จึงทำให้ในป่าใหญ่ที่มีต้นไทรมาก ๆ จะมีผลไทรสุกไว้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เหล่านี้ได้ตลอดทั้งปี จึงช่วยทำให้เกิดสมดุลต่อระบบนิเวศทั้งในป่าและในเมืองที่ปลูก 2.         รากอการสามารถนำมาพันเป็นวงกลมเพื่อประดับดอกไม้แห้งเป็นพวงมาลาได้ 3.         ต้นไทรย้อยนิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะมีทรงพุ่มแผ่กว้างให้ร่มเงาได้ดี ต้องมีเนื้อที่ในการปลูกพอสมควร แต่ในปัจจุบันวงการไม้ประดับได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะย่อส่วนต้นไม้ให้มีขนาดเล็กลง การนำไม้ป่าทั้งหลายรวมทั้งไทรย้อยมาปลูกเป็นไม้ประดับจึงสะดวกมากขึ้น 4.         ด้วยความที่ตัวพุ่มของต้นไทรย้อยเป็นพุ่มแน่นทึบ ประกอบไปด้วยใบไม้เรียงซ้อนกันหลายชั้น จึงช่วยกั้นแสงแดดหรือช่วยดูดแสงแดดร้อนจัดในยามกลางวันได้ อีกทั้งพุ่มใบที

สรรพคุณต้นไทรย้อย

รูปภาพ
สรรพคุณของไทรย้อย 1.         รากไทรย้อยมีสรรพคุณเป็นยาแก้กาฬโลหิต (รากอากาศ) 2.         รากอากาศมีสรรพคุณบำรุงโลหิต แก้ตกโลหิต (รากอากาศ) 3.         รากใช้เป็นยาแก้กระษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม ปวดเมื่อย โลหิตจาง) (รากอากาศ) 4.         รากนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาบำรุงน้ำนมให้สมบูรณ์ (รากอากาศ) 5.         ช่วยแก้อาการท้องเสีย (รากอากาศ) 6.         ใช้เป็นยาขับพยาธิ (รากอากาศ) 7.         ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา ขับปัสสาวะให้คล่อง แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะมีสีต่าง ๆ (รากอากาศ) 8.         ช่วยแก้ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะที่มีปัสสาวะขุ่นข้นเป็นสีเหลืองหรือแดง และมักมีอาการแน่นท้อง รับประทานไม่ได้ร่วมด้วย) (รากอากาศ) 9.         ช่วยแก้อาการอักเสบหรือลดการติดเชื้อ เช่น ฝีหรือรอยฟกช้ำ (รากอากาศ) 10.      ตำรายาไทยจะใช้รากไทรย้อยใน  “ พิกัดตรีธารทิพย์ ” ( ประกอบไปด้วยรากไทรย้อย รากราชพฤกษ์ และรากมะขามเทศ) มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงน้ำนม แก้กษัย แก้ท้องร่วง ช่วยฆ่าเชื้อคุดทะราด (รากอากาศ)  ที่มา https://medthai.com

ผลไทรย้อย

รูปภาพ
ผลไทรย้อย   ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือรี ออกผลเป็นคู่ ๆ ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ  0.8  เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม สีน้ำตาล สีชมพู สีส้มแดง หรือสีม่วงดำเมื่อแก่ ไร้ก้าน  ที่มา https://medthai.com

ดอกไทรย้อย

รูปภาพ
ดอกไทรย้อย   ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็ก เกิดภายในฐานรองดอกที่มีรูปทรงกลมคล้ายผล ออกเป็นคู่จากจ้างกิ่ง ไม่มีกลีบดอก [3]   ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ช่อดอกของไทรก็คือผลที่ยังไม่สุกนั่นเอง แต่เป็นช่อดอกที่ได้รับการออกแบบมาให้ม้วนดอกทั้งหลายกลับนอกเข้าในเพื่อทำหน้าที่พิเศษ ถ้านำมาผ่าดูก็จะพบว่าข้างในกลวง ที่ผนังมีดอกขนาดเล็ก ๆ จำนวนนับร้อย ๆ ดอก ดานตรงข้ามกับขั้วผลไทรมีรูเปิดขนาดเล็กมาก และมีเกล็ดเล็ก ๆ ปิดซ้อนกันอยู่ โดยดอกไทรจะมีอยู่ด้วย  3  ประเภท คือ ดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกกอลล์ ซึ่งดอกกอลล์ ( Gall flower)  จะมีหน้าที่เป็นที่วางไข่และเลี้ยงตัวอ่อนของ  “ ตัวต่อไทร ” ( เป็นแมลงชนิดเดียวเท่านั้นที่ช่วยผสมเกสรให้ต้นไทร) ที่มา https://medthai.com

ใบไทรย้อย

รูปภาพ
ใบไทรย้อย   ไทรย้อยแต่ละสายพันธุ์นั้นจะมีลักษณะของใบที่แตกต่างกันเล็กน้อย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปไข่ บางต้นลักษณะของใบเป็นรูปกลมป้อม ส่วนบางพรรณก็เป็นรูปยาวรี แต่โดยทั่วไปแล้วใบจะมีขนาดกว้างประมาณ  2.5-5  เซนติเมตร และยาวประมาณ  5-11  เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างหนาเป็นสีเขียวเรียบเป็นมันเหมือนกันหมด เส้นแขนงใบมีข้างละประมาณ  6-16  เส้น ส่วนเส้นแขนงใบย่อยเรียงขนานกัน มีต่อมไขที่โคนเส้นกลางใบ ก้านยาวประมาณ  0.5-2  เซนติเมตร มีหูใบยาวประมาณ  0.5-2.8  เซนติเมตร ร่วงได้ง่าย เกลี้ยงหรือมีขนขึ้นประปราย  ที่มา https://medthai.com

ต้นไทรย้อย

รูปภาพ
  ต้นไทรย้อย   มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย อินเดีย และภูมิภาคมาเลเซีย จัดเป็นไม้ยืนต้นหรือพุ่มไม่ผลัดใบขนาดกลาง ที่มีความสูงได้ประมาณ  5-15  เมตร ลำต้นแตกเป็นพุ่มหนาทึบและแผ่กิ่งก้านสาขาทิ้งใบห้อยย้อยลง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง มีลำต้นที่สูงใหญ่ ตามลำต้นจะมีราอากาศแตกย้อยลงสู่พื้นดินเป็นจำนวนมากดูสวยงาม รากอากาศเป็นรากขนาดเล็ก เป็นเส้นสีน้ำตาล ลักษณะรากกลมยาวเหมือนเส้นลวดย้อยลงมาจากต้น รากอากาศที่มีขนาดใหญ่จะมีเนื้อไม้ด้วย มีรสจืดและฝาด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำ เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้า ชอบดินร่วนซุย ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นในระดับปานกลาง ไทรย้อยมีเขตการกระจายพันธุ์กว้างในประเทศเขตร้อน พบได้ที่อินเดีย เนปาล ปากีสถาน จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นกระจายในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา และบางครั้งอาจพบได้ตามเขาหินปูน จนถึงระดับความสูงประมาณ  1,300  เมตร  ที่มา https://medthai.com